ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพแห่งหนึ่งของโลก นอกจากพื้นที่ที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ และสถานที่ท่องเที่ยวมากมายแล้ว ยังมีผักและผลไม้ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ทุเรียน เงาะ มังคุด ฯลฯ ในบรรดาผลไม้ทั้งหมด “มังคุด” ได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชินีแห่งผลไม้” (Queen of fruits) ด้วยลักษณะเฉพาะของผลมังคุดที่มีกลีบเลี้ยงอยู่ที่หัวขั้วของผล คล้ายมงกุฏของราชินี เนื้อด้านในมีสีขาวนวล รสชาติหวานอมเปรี้ยวอร่อยอย่างยากที่จะมีผลไม้ชนิดใดในโลกเทียบเคียงได้
มังคุด (Mangosteen) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Garcinia mangostana Linn.
จัดอยู่ในวงศ์ Guttiferae
มังคุดเจริญเติบโตได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมควรเป็นดินเหนียวปนทราย ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงสามารถอุ้มน้ำและระบายน้ำได้ดี พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกมังคุดควรมีสภาพภูมิอากาศร้อนและชุ่มชื้น คือ มีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 25-30 องศาเซลเซียสและมีฝนตกชุกสม่ำเสมอ มังคุดจึงปลูกมากทางภาคใต้ของประเทศไทย
เปลือกมังคุด (pericarp)
ด้วยเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าในปัจจุบัน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สามารถทำการศึกษาถึงประโยชน์จากสารสำคัญที่มีอยู่ในเปลือกมังคุด คือ แทนนินและแซนโทน สารแซนโทนมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) จึงมีการศึกษามากมายที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของสารแซนโทนที่มีในเปลือกมังคุด แซนโทนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แรง (potent antioxidants) พบได้มากในเปลือกมังคุด และมีผลของการศึกษาฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระโดยวิธี ORAC (Oxygen Radical Absorbance Capacity) Brunswick Laboratories ทำการเปรียบเทียบระหว่างน้ำผลไม้อื่นๆและมังคุด พบว่า มังคุดมีฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระมากกว่า แครอท ราสเบอรรี่ บลูเบอรรี่ ทับทิม อนุมูลอิสระ (free radicals) เป็นโมเลกุลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการลูกโซ่ (chain reaction) ของปฎิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) ที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ดังนั้นร่างกายจึงต้องหาทางป้องกันการโดนทำลายจากอนุมูลอิสระ โดยสิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง คือระบบแอนติออกซิแดนท์ (antioxidants) อย่างไรก็ตามภาวะที่ปริมาณอนุมูลอิสระมีมากเกินกว่าระบบแอนติออกซิแดนท์จะจัดการได้ จะเกิดภาวะเครียดขึ้น (oxidative stress) ก่อให้เกิดผลเสียต่อเซลล์ และการทำลายเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุ ของการแก่ (aging) และรุนแรงไปถึงการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่นการกระตุ้นให้เกิดไขมันสะสมในหลอดเลือดนำไปสู่ภาวะเส้นเลือดตีบ โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน(autoimmune disease) รวมไปถึงโรคมะเร็ง (cancer) เป็นต้น
สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระโดยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันในส่วนต่างๆ ของร่างกาย นอกจากร่างกายสามารถสร้างสารต้านอนุมูลอิสระได้เองตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ในวิตามิน แร่ธาตุ และสารจากผักและผลไม้ก็พบสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ด้วย แซนโทนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แรง (potent antioxidants) พบได้มากในเปลือกมังคุด ปัจจุบันมีการศึกษาถึงประโยชน์ของสารแซนโทนจากเปลือกมังคุดในเรื่องต่างๆดังนี้ผลจากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารแซนโทน จึงป้องกันการเกิดออกซิเดชันของLDL ซึ่งเป็นคลอเลสเตอรอลตัวร้าย จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease)
ภาวะไขมันอุดตันหลอดเลือดหัวใจ
อีกทั้งยังลดการทำลายเซลล์ อันเป็นผลจากปฏิกิริยาลูกโซ่ จึงช่วยลดความเสี่ยงและชะลอการแก่ (aging) ด้วย ผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่างๆรวมถึงการตายของเซลล์มะเร็งในการศึกษาระดับห้องปฎิบัติการ เช่น เซลล์มะเร็งเต้านม, เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว , เซลล์มะเร็งตับ, กระเพาะอาหาร และเซลล์มะเร็งปอด
การกลายพันธุ์ของเซลมะเร็ง
- ผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด เช่น เชื้อวัณโรค (Mycobacterium tuberculosis) , เชื้อ S. Enteritidis และเชื้อ HIV
- ฤทธิ์ในการช่วยขยายตัวของหลอดเลือด (vasorelaxing activities) ดังนั้นจึงมีประโยชน์ในการลดความดันโลหิต (antihypertensive)
- การยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีน (histamine) ฤทธิ์ต้านซิโรโทนิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันโรคภูมิแพ้ (allergies)
อาการแพ้
การยับยั้งการสังเคราะห์สารพลอสตาแกลนดินอีทู (PGE2) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดกระบวนการอักเสบต่างๆ เช่น การปวดอักเสบ กล้ามเนื้อ และข้อสารแซนโทนสามารถทำให้ปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ II(ผู้ใหญ่) ลดลง ซึ่งอาจจะเป็นกลไกที่แซนโทนทำให้การทำงานของอินซูลินดีขึ้น จึงสามารถนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ได้เร็วขึ้น
การอักเสบของส่วนต่างๆ แผลภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน
มังคุดจึงไม่ใช่เพียงผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยแต่ยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งคุณค่าทางโภชนาการ“มังคุด” จึงเป็นของขวัญล้ำค่าที่ธรรมชาติได้มอบให้กับมวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง
เหตุผล 33 ประการ ที่ควรพิจารณาใช้สารสกัดจากมังคุด
- ต้านอาการเมื่อยล้า (เพิ่มพลังอาหาร)
- ป้องกันการระคายเคือง อักเสบ
- ลดการเจ็บปวด
- ต้านการเกิดแผลในปาก
- ระงับอาการกดประสาท (ลดความเครียด)
- ลดอาการกังวล
- ลดภาวะสมองเสี่อม ช่วยป้องกันความผิดปกติของสมอง
- ป้องกันการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง
- เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
- ชะลอความชรา
- ต้านอนุมูลอิสระ
- ต้านเชื้อไวรัส
- ต้านเชื้อแบคทีเรีย
- ต้านเชื้อรา
- ต้านการขับไขมันจากต่อมไขมันใต้ผิวหนังมากเกินไป (ต้านการทำงานของผิวหนังผิดปกติ)
- ลดไขมันที่ไม่ดีในเส้นเลือด (ลด L.D.L.)
- ป้องกันเส้นเลือดแดงแข็งตัว
- ป้องกันโรคหัวใจ
- ป้องกันความดันต่ำ
- ป้องกันอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ป้องกันโรคอ้วน (ช่วยลดน้ำหนัก)
- ป้องกันโรคข้อเสื่อม
- ป้องกันโรคกระดูกผุ
- ป้องกันโรคภูมิแพ้
- ป้องกันการเกิดโรคนิ่วในไต
- ป้องกันอาการไข้ (ไข้ระดับต่ำ)
- ป้องกันโรคพาร์กินสัน (โรคเกี่ยวกับระบบประสาทที่ทำให้สั่น)
- ป้องกันอาการท้องร่วง
- ป้องกันอาการปวดในระบบประสาท
- ป้องกันอาการเวียนศรีษะ
- ป้องกันโรคตัวหิน (โรคตาที่เกิดจากความดันสูงในกระบอกตาและทำให้ตาบอดในที่สุด)
- ป้องกันอาการตามัว (เกิดความผิดปกติที่เลนส์ในดวงตา)
- ป้องกันโรคเหงือก
ที่มา:http://www.otopnetwork.com/index.php?option=com_content&task=view&id=45&Itemid=70
-
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น